Monday, 29 April 2024
South Time Team

นายราเมศ ระบุว่า จะมุ่งมั่น ตั้งใจ รับใช้ บ้านเกิด เป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 2

นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ได้โพสต์ข้อความผ่าน เฟสบุ๊กส่วนตัว ลาออกจากตำแหน่งเลขานุการประธานรัฐสภา ระบุว่า 1 กุมภาพันธ์ 2563 วันที่ ท่านชวน หลีกภัย

 

ได้แต่งตั้งให้ผมดำรงตำแหน่ง “เลขานุการประธานรัฐสภา” เป็นวันที่ผมมีความภาคภูมิใจมากที่สุดในชีวิต ที่ได้ทำงานรับใช้ท่านชวน ในฐานะที่ท่านเป็นประธานรัฐสภา หลักการทำงานที่ได้รับการบ่มเพาะ สอนผมมาตลอด กว่า 14 ปี ในชีวิตบนเส้นทางการเมือง เส้นทางการเป็นนักกฎหมาย ให้ยึดหลักความซื่อสัตย์สุจริต ตั้งใจทำงานให้กับพี่น้องประชาชนและประเทศ ผมยึดแนวทางนี้มาตลอดเส้นทางเดิน

 

นายราเมศ ระบุว่า งานที่ท่านชวนกับผมให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ปัญหาของพี่น้องประชาชนที่ได้ร้องเรียนต่อประธานรัฐสภา จดหมายจากประชาชนถึงมือท่านชวนทุกฉบับ ในเรื่องความเดือดร้อน ที่สำคัญ ผมในฐานะเลขานุการประธานรัฐสภา จะติดต่อโทรศัพท์หาชาวบ้านโดยตรง เพื่อรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ ตั้งวงประชุมที่สภาฯ เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือ ผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจมาก

 

ส่วนที่รับผิดชอบเป็นหลักอีกเรื่องคือดูเรื่องประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวงงานรัฐสภา ทั้งรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับ ร่างกฎหมาย คดีศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งหมดคือประสบการณ์ที่ดีมากที่สุดในชีวิตผม

 

“ท่านชวนคือต้นแบบในการปฏิบัติตนในทุกช่วงเวลาของชีวิตผม อาจจะไม่หวือหวาเหมือนคนอื่น แต่ผมเชื่อว่าสิ่งที่ปฏิบัติตนตามแนวทางของท่านชวนคือความยั่งยืนในวันข้างหน้า วันนี้ รู้สึกใจหาย เพราะจะเป็นวันสุดท้ายของการทำงานในตำแหน่ง “เลขานุการประธานรัฐสภา” แต่ยังเป็น “เลขานายชวน” เช่นเดิมครับ

 

ขอบพระคุณท่านชวน หลีกภัย ที่ให้โอกาสในการทำงาน ขอบพระคุณพี่น้องข้าราชการทุกท่านที่ช่วยกันทำงานตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ขอบพระคุณด้วยหัวใจ “ไว้เจอกันในโอกาสหน้าครับผม”ราเมศ ระบุ

 

นายราเมศ ระบุว่า จะมุ่งมั่น ตั้งใจ รับใช้ บ้านเกิด เป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 2 อำเภอท้ายเหมือง อำเภอตะกั่วป่า อำเภอคุระบุรี อำเภอกะปง จังหวัดพังงา พรรคประชาธิปัตย์

 

 

อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี  มีมติอนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4 โดยประกันรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อมูลพื้นที่กับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2565 จำนวนทั้งสิ้น 1,604,379 ราย (เจ้าของสวน ผู้เช่า ผู้ทำ 1,372,865 ราย และคนกรีดยาง 231,514 ราย) คิดเป็นพื้นที่ปลูกยาง รวม 18,183,764.59 ไร่

 

ซึ่งเป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้ว กำหนดราคาประกันผลผลิตยางแต่ละชนิด ดังนี้ ยางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาท/กิโลกรัม น้ำยางสด (DRC 100%) 57 บาท/กิโลกรัม และยางก้อนถ้วย (DRC 50%) 23 บาท/กิโลกรัม แบ่งสัดส่วนรายได้ เจ้าของสวน ร้อยละ 60 และคนกรีด ร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมด รายละไม่เกิน 25 ไร่ ระยะเวลาประกันรายได้ 2 เดือน (ตุลาคม – พฤศจิกายน 2565) งบประมาณโครงการฯ รวม 7,643,857,284.15 บาท

 

โดยจะเริ่มจ่ายเงินถึงมือเกษตรกรชาวสวนยางภายในเดือนมีนาคมนี้
ด้านนางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่าการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (28 ก.พ.) ได้มีมติอนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4 วงเงินรวม 7,643 ล้านบาท ตามที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ กับนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ เสนอ สำหรับโครงการนี้มีขึ้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรชาวสวนยางในช่วงที่ราคายางผันผวน

 

ซึ่งปีนี้กำหนดเป้าหมายเกษตรกรชาวสวนยาง 1.6 ล้านราย พื้นที่สวนยางกรีดได้ 18.18 ล้านไร่ โดยให้เกษตรกรขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ภายในวันที่ 30 มิ.ย. 65 ซึ่งดำเนินการการขึ้นทะเบียนเสร็จสิ้นไปแล้ว

 

นอกจากนี้ ครม. ยังอนุมัติโครงการคู่ขนานสนับสนุนสินเชื่อหรือเงินกู้เป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยาง และผลิตภัณฑ์ระยะที่ 2 เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบกิจการแปรรูปไม้ยางพาราด้วย


อย่างไรก็ตาม การอนุมัติครั้งนี้เป็นไปตามมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.)

 

เมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยโครงการดังกล่าวใช้เงินทุนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำรองจ่ายแทนรัฐบาลไปก่อน จำนวน 7,421 ล้านบาท และให้ ธ.ก.ส. เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 และปีต่อๆ ไปตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอน

 

เพื่อรัฐบาลชำระคืนต้นเงินและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินโครงการ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการโอนเงิน กว่า 8 ล้านบาท และชดเชยต้นทุนทางการเงินของธนาคารประจำไตรมาส บวก 1 ภายในวงเงินไม่เกิน 137 ล้านบาท ปีละ 1,600 ล้านบาท ยกเว้นปีที่ 5 จ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมด เห็นชอบค่าบริหารจัดการโครงการ 77 ล้านบาท

 
โดยให้ กยท. เสนอขอรับจัดสรรจากงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นประจำปีงบประมาณ 2566 ซึ่งเท่ากับว่าโครงการประกันรายได้ยางพาราเดินหน้าปีที่ 4 ครอบคลุมตลอดปี 66 แม้มีการยุบสภาหรือมีการเลือกตั้ง และหลังจากมีการปรับเปลี่ยน ครม. แต่การดำเนินโครงการจะต้องดำเนินให้สิ้นสุดระยะ 4 หรือปีที่ 4 ตามมติ ครม. ในวันนี้

ประเทศไม่ใช่ธุรกิจ ลุงตู่ อัด เศรษฐา ตั้งคำถาม เขาเก่งตรงไหน

เมื่อวันที่ 1 มี.ค.2566 - ที่พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและนโยบายพรรครวมไทยสร้างชาติ ให้สัมภาษณ์ภายหลังร่วมกิจกรรมเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร รสทช.ว่า เป็นบรรยากาศแห่งมิตรไมตรี และในฐานะประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและนโยบายพรรค ได้มีโอกาสพบปะสมาชิกหลายคนหลายภาคและเป็นครั้งที่ 2 ที่ได้มาสวมเสื้อให้

 

ถือเป็นเกียรติให้กันและกัน และมีความเชื่อมั่นในบรรดาสมาชิกของพรรคที่มีหลากหลาย หลายกลุ่ม หลายวัย เพราะเราต้องการเดินหน้าทำงานให้คนทุกช่วงวัย รวมถึงกลุ่มเปราะบาง กลุ่มที่มีปัญหาต่างๆ เราต้องทำให้ทุกคนได้ประโยชน์สูงสุดจากการทำงานในอนาคต ขอขอบคุณบรรดาสมาชิก ส.ส. และขอบคุณหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค กรรมการบริหารพรรค และ ผู้ใหญ่ทุกคนที่ทำให้มีวันนี้ ซึ่งเป็นวันที่มีความสุข

 

ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคมีความพร้อมในการเลือกตั้งแค่ไหน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า หัวหน้าพรรค และเลขาธิการพรรคบอกแล้วว่ามีความพร้อม ทันเวลาอย่างแน่นอน ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมายและที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนด โดยพรรครวมไทยสร้างชาติจะส่งให้ครบ

 

ผู้สื่อข่าวถามว่าตั้งเป้าได้ ส.ส.อย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถ้าตั้งเป้า แล้วไม่ได้ตามเป้าแล้วจะไปตั้งทำไม เพราะเราเชื่อมั่นว่าจะได้กว่าเป้า ส่วนเป้าที่วางไว้จะเป็นเท่าไหร่นั้นจะยังไม่บอก ทุกคนต่างหวังเช่นนั้น

 

ผู้สื่อข่าวถามว่าการจะเป็นรัฐบาลได้ ส.ส. จำนวน 250 เสียงขึ้นไป พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การจัดตั้งรัฐบาลกติกาก็คือจะต้องได้คะแนนเสียงสูง และต้องมีทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล เสียงมากเสียงน้อยก็จะต้องขึ้นอยู่กับบทบาทการพูดคุยต่อไปว่าเป็นรัฐบาลกันอย่างไร เพราะครั้งที่แล้วก็เป็นแบบนี้ ก็ผ่านมาแล้ว

 

ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรครวมไทยสร้างชาติจะมีทีมเศรษฐกิจมาช่วยงานหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สำหรับทีมเศรษฐกิจนั้นมี แต่เขาไม่ให้เอ่ยชื่อ เขาขออยู่เบื้องหลัง และเสนอเรื่องนั้นเรื่องนี้เข้ามา ในขณะที่ตนเองก็มีทีม การทำงานเศรษฐกิจไม่ใช่ว่าจะเก่งอยู่คนเดียวแล้วบอกว่าสุดยอดแน่นอน อย่างนั้นไม่ใช่ กลุ่มเศรษฐกิจของเรามีอยู่ทุกด้านและมีข้อเสนอเพื่อนำไปปรึกษาในคณะทำงานก่อนที่จะนำมาเข้ามาในระบบของรัฐบาลเพื่อให้เดินหน้าได้

 

ดังนั้นการจะเอานักเศรษฐกิจที่เก่งในเรื่องนั้นเรื่องนี้มาเพียงคนเดียวแล้วบอกว่าเก่งในเรื่องการบริหารประเทศ คิดว่ามันไม่ใช่

 

เมื่อถามว่ามั่นใจว่าจะสู้พรรคอื่นได้ใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า แน่นอนๆ

 

ถามว่า ในวันเดียวกันนี้พรรคเพื่อไทยจะเปิดตัวนายเศรษฐา ทวีสิน ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย แล้วพรรครวมไทยสร้างชาติจะมีตัวชูอย่างนั้นบ้างหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "แล้วเขาเด่นตรงไหนล่ะ ที่เสนอชื่อเขามา เขาเก่งตรงไหน เขาทำอะไรมา เขาทำธุรกิจ และประเทศชาติไม่ใช่ธุรกิจ "

 

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า จำคำพูดผมเอาไว้นะ คำว่าเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ใช่เศรษฐกิจหรือธุรกิจของครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง เข้าใจหรือไม่เป็นของประเทศ ฉะนั้นต้องหาคนที่เหมาะสม และการทำงานก็มีระบบและขั้นตอนมากมายไปหมด ต้องมีคณะกรรมการ มีคนที่เก่งเศรษฐกิจ ด้านการเงิน ด้านการธนาคาร การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และทั้งหมดต้องมาคุยด้วยกัน ไม่ว่าใครจะเก่งด้านใด เมื่อสั่งแล้วไปไม่ได้ หรือติดกฎหมายก็ไปไม่ได้อีกอยู่ดี เราก็ต้องแก้ไขตรงนี้

 

แล้วรัฐบาลชุดหน้าจะต้องทำแบบนี้ เข้าใจหรือยัง เลิกถามเสียทีเถอะถึงหัวหน้าทีมเศรษฐกิจเนี่ย"

1 มีนาคม พ.ศ. 2433 รัชกาลที่ 5 ประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟสายแรก กรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา

วันนี้ เมื่อ 133 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟตั้งแต่กรุงเทพ ฯ ถึงเมืองนครราชสีมาเป็นทางรถไฟสายแรกในราชอาณาจักรไทย

เมื่อ พ.ศ. 2398 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งในเครื่องราชบรรณาการนั้นมีรถไฟเล็กจำลองย่อส่วนจากรถจักรไอน้ำของจริงที่ใช้ในเกาะอังกฤษ ประกอบด้วยหัวรถจักรไอน้ำชนิดมีปล่องสูงและรถพ่วงครบขบวน ซึ่งเป็นที่สนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะนั้น แต่ตลอดรัชสมัยของพระองค์ยังไม่มีการสร้างทางรถไฟเกิดขึ้น เพราะภาวะเศรษฐกิจของราชอาณาจักรสยามในขณะนั้นยังอยู่ในฐานะที่ไม่มั่นคงและยังมีจำนวนประชากรน้อยอยู่

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงได้รับแรงบันดาลพระราชหฤทัยจากการทรงทอดพระเนตรการสร้างทางรถไฟในชวาและทรงประทับรถไฟในอินเดีย พระองค์ทรงเห็นว่ารถไฟจะทำให้ราชอาณาจักรสยามมีความเจริญยิ่งขึ้น และจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้กับราชอาณาจักรได้ ซึ่งในขณะนั้นราชอาณาจักรสยามกำลังถูกกดดันจากชาติตะวันตกในการล่าอาณานิคม ดังนั้นการสร้างทางรถไฟจึงได้เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2433 โดยมีประกาศพระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยามตั้งแต่กรุงเทพมหานครถึงนครราชสีมา ดังมีข้อความแสดงพระราชดำริบางดอนว่า

"การสร้างหนทางรถไฟเดินไปมาในระหว่างหัวเมืองไกล เป็นเหตุให้ความเจริญแก่บ้านเมืองได้เป็นอย่างสำคัญอันหนึ่ง เพราะทางรถๆฟอาจจะชักย่นหนทางหัวเมืองซึ่งตั้งอยู่ไกลไปมาถึงกันยากให้กลับเป็นหัวเมืองใกล้ไปมาถึงกันได้โดยสะดวกเร็วพลัน การย้ายขนสินค้าไปมาเป็นการลำบาก ก็สามารถจะย้ายขนไปมาถึงกันได้โดยง่าย เป็นการเปิดโอกาสให้อาณาประชาราษฎร์ มีทางตั้งการทำมาหากินกว้างขวางออกไปและทำทรัพย์สมบัติกรุงสยามให้มากมียิ่งขึ้นด้วย ทั้งเป็นคุณประโยชน์ในการบังคับบัญชา ตรวจตราราชการบำรุงรักษาพระราชอาณาเขตให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขได้โดยสะดวก"

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ จากนั้นในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ไปทรงขุดดินถมทางรถไฟหลวงสายแรก

สำหรับการก่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมาได้แล้วเสร็จบางส่วน ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระอัครราชเทวี ไปทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจักร พระองค์ทรงตอกหมุดตรึงรางรถไฟกับไม้หมอนและเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟพระที่นั่งไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ก้มกราบแผ่นดิน หลังลี้ภัยในต่างแดน 1 ปี 5 เดือน

วันนี้ เมื่อ 15 ปีก่อน ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรก หลังจากต้องลี้ภัยในต่างแดนเป็นเวลา 1 ปี 5 เดือน จากเหตุรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549

ย้อนกลับไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 ได้มีภาพของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปรากฏและเป็นข่าวโด่งดังซึ่งประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก กับกรณีการ ก้มกราบแผ่นดิน ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

หลังจากที่ นายทักษิณ ต้องออกจากประเทศไทยและลี้ภัยไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษนานถึง 1 ปี 5 เดือน เนื่องจากถูกปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งนำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในฐานะคณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. เมื่อปี 2549

เหตุการณ์ในวันนั้น เมื่อนายทักษิณ เดินทางมาถึง ได้อยู่ภายในห้องวีไอพีกับครอบครัว ซึ่งเป็นห้องที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจัดเตรียมไว้ให้เซ็นรับทราบข้อกล่าวหา รวมถึงทำกระบวนการต่างๆ ตรวจพาสปอร์ต จากนั้นได้เดินออกจากอาคารสนามบินสุวรรณภูมิทักทายอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย รัฐมนตรี และ ส.ส. ที่มายืนรอต้อนรับ

27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ในพิธี วางศิลาฤกษ์ ‘เขื่อนสิริกิติ์’

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เขื่อนสิริกิติ์ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์

เดิมเขื่อนนี้มีชื่อว่า 'เขื่อนผาซ่อม' โดยก่อสร้างปิดกั้นแม่น้ำน่าน บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ภายหลังได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มาขนานนามเขื่อนว่า เขื่อนสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2511

26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ศาลสั่งยึดทรัพย์ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ รวมมูลค่ากว่า 46,000 ล้านบาท

วันนี้ เมื่อ 13 ปีก่อน ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายึดทรัพย์ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 46,373 ล้านบาท คืนเงิน 30,247 ล้านบาท

องค์คณะผู้พิพากษาเริ่มอ่านคำพิพากษาในเวลา 13.30 น.ใช้เวลาอ่านคำฟ้องของอัยการ 1 ช.ม.อ่านคำคัดค้านการยึดทรัพย์ของผู้ถูกร้อง (จำเลย) 1.30 ช.ม. เริ่มเข้าสู่การพิจารณาในแต่ละประเด็น 16.00 น.

1. องค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะคดีนี้ไม่ใช่คดีความผิดทางละเมิดของศาลปกครอง หรือ คดีถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

2. มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ผู้ร้อง ทั้งอัยการ, ป.ป.ช., คตส. มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ยึดทรัพย์ 7.66 หมื่นล้าน ตกเป็นของแผ่นดิน เพราะ

2.1 พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ปี 42 ไม่ได้สิ้นสุดลงตาม รธน.40 จากการยึดอำนาจ 19 ก.ย.49
2.2 คตส.จึงสามารถใช้อำนาจ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบการทุจริต ตามประกาศ คปค.ได้

2.3 การที่ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.กำหนดให้การฟ้องคดีร่ำรวยผิดปกติ ต้องทำในสมัยที่นักการเมืองคนนั้น อยู่ในตำแหน่ง ไม่สามารถนำมาบังคับใช้กับการตรวจสอบของ คตส.ที่มีการบัญญัติไว้เป็น กม.เฉพาะได้

2.4 การตั้งนายกล้าณรงค์ จันทิก , นายบรรเจิด สิงคเนติ , นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นอนุกรรมการตรวจสอบชอบด้วย กม.ไม่ได้มีอคติ หรือ เป็นปรปักษ์กับผู้ถูกกล่าวหา เพราะการไปฟังกลุ่มพันธมิตรฯปราศรัย , การแสดงความเห็นตรงข้ามกับผู้ถูกกล่าวหา เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพในฐานะประชาชนทั่วไป , นักวิชาการ และ ส.ว. ไม่ได้มีเรื่องโกรธแค้นเป็นการส่วนตัวกับผู้ถูกกล่าวหา

2.5 ป.ป.ช.ชุดนี้ตั้งตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 ซึ่งชอบด้วย กม.แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องให้ ปธ.วุฒิสภา รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง

2.6 คดีนี้เป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีแพ่งประกอบคดีอาญา ที่ต้องรอผลทางอาญาก่อน ตาม ป.วิ อาญา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจึงสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาได้ โดยไม่ต้องรอให้มีคำพิพากษาในส่วนที่เป็นคดีอาญาก่อน

3. องค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า คำร้องขอให้ยึดทรัพย์ 7.66 หมื่นล้าน มีความชัดเจนไม่คลุมเครือ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือหุ้นชินคอร์ปผ่านเครือญาติ และนิติบุคคลที่ตัวเองตั้งขึ้น

25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ เป็นวันแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในไทย

วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันที่ประเทศไทยมีการกระจายเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรก

กิจการวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยมีมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 ด้วยพระดำริของ 'พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน' เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และโทรคมนาคม

พระองค์ทรงดำริตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้น เมื่อพ.ศ.2471 โดยสั่งเครื่องส่งกระจายเสียงคลื่นสั้นเข้ามาทดลอง และให้อยู่ในความควบคุมของช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข ตั้งสถานีที่ตึกที่ทำการไปรษณีย์ปากคลองโอ่งอ่าง ตำบลวัดราชบูรณะเป็นครั้งแรก ใช้ชื่อสถานีว่า '4 พีเจ' (HS 4 PJ) ต่อมาได้มีการประกอบเครื่องส่งคลื่นขนาดกลาง 1 กิโลวัตต์ ขึ้น ทำการทดลองที่ตำบลศาลาแดงใช้ชื่อสถานีว่า 'หนึ่ง หนึ่ง พีเจ' (HS 11 PJ) ซึ่งการใช้ชื่อสถานีว่า 'พีเจ' ในยุคนั้น ย่อมาจากคำว่า 'บุรฉัตรไชยากร' อันเป็นพระนามเดิมของพระองค์ท่านนั่นเอง

หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 วันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระนามเดิมว่า ฉิม ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาช และสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา

ต่อมาพระองค์ได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด พระธิดาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งภายหลังเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสี หลังการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรสร่วมกัน 3 พระองค์ พระองค์ใหญ่ซึ่งปรากฏพระนามภายหลังว่าเจ้าฟ้าราชกุมาร สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ รองลงมา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์น้อย คือ  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ 40 พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดให้ตั้งพระราชพิธีอุปราชาภิเษก สถาปนาพระเกียรติยศขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ให้คงเสด็จประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม มิให้ขึ้นไปประทับ ณ พระราชวังบวรฯ ด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ได้กราบทูลไว้แต่เมื่อประชวรหนักว่าขอให้ลูกเธอได้อาศัยในพระราชวังบวรฯ ต่อไป ทั้งทรงพระราชดำริเห็นว่า พระองค์ก็ทรงพระชรามากอยู่แล้ว ไม่ช้านานเท่าใดพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็จะได้เสวยราชสมบัติ การย้ายวัง ควรไว้ย้ายเมื่อเสด็จเข้ามาประทับในพระบรมมหาราชวังทีเดียว

ถึงปี พ.ศ. 2352 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้เสด็จสวรรคต กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 รสช.ยึดอำนาจ รัฐบาลพลเอกชาติชาย ด้วยเหตุผลหลัก ‘ฉ้อราษฎร์บังหลวง’

เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ได้เกิดรัฐประหารขึ้นโดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. (National Peace Keeping Council-NPKC) ภายใต้การนำของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอก สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ เป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นเลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ  ร่วมด้วย พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศ เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ 

โดยคณะ รสช. ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจาก พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี โดยในแถลงการณ์ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เรื่องคำชี้แจงเหตุผลการเข้ายึดและควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุผลหลักที่เป็นเสมือนข้ออ้างในรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ไว้ 5 ประการ ได้แก่


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. South Time Thailand
Take Me Top