Monday, 29 April 2024
South Time Team

22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ เปิดเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล

วันนี้ เมื่อ 37 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล

เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอเนกประสงค์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่ ต.ช่อแล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เกิดจากความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับกรมชลประทาน โดยกรมชลประทานรับผิดชอบในการสร้างเขื่อนและอาคารประกอบต่างๆ ส่วน กฟผ. รับผิดชอบโรงไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้า

‘ไทย’ รับมอบวัคซีนโควิดรุ่นใหม่จากเกาหลีใต้กว่า 5 แสนโดส เตรียมฉีดเป็นเข้มกระตุ้น จนท.ด่านหน้า ปลายเดือน ก.พ.นี้

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับมอบวัคซีนไฟเซอร์ bivalent จำนวน 501,120 โดส จากรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลี ในโอกาสครบรอบ 65 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-เกาหลี เตรียมจัดสรรให้ทุกจังหวัดและกรุงเทพมหานคร สิ้นเดือน ก.พ. นี้ ใช้ฉีดเป็นเข็มกระตุ้นในเจ้าหน้าที่ด่านหน้า อาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่ม 608  ที่เสี่ยงเกิดอาการป่วยรุนแรง

เมื่อวานนี้ (20 ก.พ.66) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข รับมอบวัคซีนโควิด-19 รุ่นใหม่ ไฟเซอร์ bivalent จำนวน 501,120 โดส จากรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลี โดยมี นาย มุน ซึงฮยอน (Moon Seoung-hyun) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี ประจำประเทศไทย นาย จอน โจยอง (Jeon Joyoung) อัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี ประจำประเทศไทย และคณะ เป็นผู้แทนส่งมอบ นายอนุทิน กล่าวว่า ในนามรัฐบาลไทย และกระทรวงสาธารณสุข ขอขอบคุณรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีที่มีความปรารถนาดีให้กับประเทศไทยเสมอมา รวมทั้งความร่วมมือด้านสาธารณสุขในการแก้ไขสถานการณ์โรคโควิด-19

โดยสาธารณรัฐเกาหลีเคยสนับสนุนวัคซีนแอสตราเซนเนก้าให้กับไทยเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนตุลาคม 2564 จำนวน 470,000 โดส ช่วยลดการป่วยหนักและเสียชีวิตให้กับคนไทยและคนเกาหลีที่ทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี สำหรับวัคซีนที่สนับสนุนเป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนี้ เป็นวัคซีนรุ่นใหม่ของไฟเซอร์ ชนิด bivalent ซึ่งจะเป็นล็อตแรกของประเทศไทยที่จะนำมาใช้สร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับกลุ่มเสี่ยงและประชาชน

“ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ฉีดวัคซีนโควิดอย่างน้อย 1 เข็ม ครอบคลุมประชากรมากกว่า 83% และฉีดเข็มกระตุ้นไปแล้ว 39% ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการต่อสู้กับภัยสุขภาพระดับโลก สำหรับการรับมอบวัคซีนในวันนี้ ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความร่วมมือและความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของประเทศไทยและสาธารณรัฐเกาหลีที่ไม่ใช่เพียง 65 ปีเท่านั้น แต่จะเป็นความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตลอดไป” นายอนุทินกล่าว

นายอนุทิน กล่าวอีกว่า ตามมติคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และผลการศึกษาในช่วงปลายปี 2565 ในประเทศสหรัฐอเมริกาและองค์การอนามัยโลก มีข้อแนะนำให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์ bivalent เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็มขึ้นไป ซึ่งจะช่วยลดการติดเชื้อแบบมีอาการได้ประมาณ 28-56% ความปลอดภัยไม่ต่างกับวัคซีนรุ่นแรกชนิด monovalent สามารถใช้ทั้งชนิด monovalent และ bivalent มาเป็นเข็มกระตุ้นได้ เนื่องจากผลในการป้องกันโรคไม่แตกต่างกัน โดยกรมควบคุมโรคจะจัดสรรวัคซีนให้ทุกจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ตามสัดส่วนของประชากรแต่ละจังหวัดอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม รวมทั้งจัดสรรให้กับเครือข่ายกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์ (Uhosnet) กรมการแพทย์ และสภากาชาดไทย คาดว่าจะมีการจัดส่งวัคซีนประมาณสิ้นเดือน กุมภาพันธ์นี้

สำหรับกลุ่มเป้าหมายในการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ bivalent เข็มกระตุ้น ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ด่านหน้าที่ต้องสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย อาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มเสี่ยงเกิดอาการป่วยรุนแรง (กลุ่ม 608) รวมถึงประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง เช่น สัมผัสกลุ่มเสี่ยง สัมผัสนักท่องเที่ยว เป็นต้น โดยต้องได้รับวัคซีนโควิด-19 มาแล้วอย่างน้อย 2 เข็ม จะฉีดเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มที่ 2 อย่างน้อย 3 เดือน และเข็มที่ 4 ห่างจากเข็มที่ 3 อย่างน้อย 4 เดือน ส่วนผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 มาแล้วและเคยติดเชื้อ จะฉีดหลังติดเชื้ออย่างน้อย 6 เดือน

21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 รัชกาลที่ 6 ทรงประกาศใช้ ‘พุทธศักราช’ (พ.ศ.) เป็นศักราชประจำชาติ แทน ‘รัตนโกสินทร์ศก’ (ร.ศ.)

วันนี้ เมื่อ 110 ปีก่อน รัชกาลที่ 6 ประกาศ เปลี่ยนมาใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) แทนรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) หลังใช้มาได้เพียง 24 ปี (พ.ศ. 2432-2455) 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงมีพระราชดำริให้ใช้ ‘พุทธศักราช’ (พ.ศ.) เป็นศักราชประจำชาติ แทน ‘รัตนโกสินทร์ศก’ (ร.ศ.) เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา และเพื่อให้สอดคล้องกับประเทศต่างๆ ที่นับถือพุทธศาสนา จึงได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 131 (พ.ศ. 2455) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ ‘พระพุทธศักราช’ ในราชการทั่วไป โดยถือเอาวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 เป็นวันเปลี่ยนมาใช้พุทธศักราชตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

‘นาวิน คำเวียง’ ลงสมัคร ส.ส.ขอนแก่น เขต 7 พรรคภูมิใจไทย ลั่น!! จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

เมื่อวานนี้ (19 ก.พ.66) ที่หอประชุมโรงเรียนอุบลรัตน์พิทยาคม จ.ขอนแก่น พรรคภูมิใจไทย นำโดย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ในฐานะเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย จัดเวทีปราศรัยนโยบาย และแนะนำตัวนายเอกราช ช่างเหลา ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขต 4 ขอนแก่น ท่ามกลางประชาชนที่มาฟังปราศรัยจำนวนมากจนล้นออกจากหอประชุม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างปราศรัยมีการเซอร์ไพรส์เปิดตัว นายนาวิน คำเวียง อดีตสมาชิกครอบครัวเพื่อไทย และคนเสื้อแดง ที่จะลงสมัคร ส.ส.ขอนแก่น เขต 7 ในนามพรรคภูมิใจไทย ซึ่งประกอบด้วย อ.หนองเรือ อ.บ้านฝาง และ อ.ภูเวียงบางส่วน

นายเอกราช ได้กล่าวแนะนำนายนาวิน และเชิญนายศักดิ์สยาม เป็นผู้สวมเสื้อพรรคภูมิใจไทย เพื่อเป็นการต้อนรับนายนาวิน เข้าพรรคอย่างเป็นทางการ ท่ามกลางเสียงปรบมือของประชาชนอย่างกึกก้อง โดยนายศักดิ์สยามขอให้ชาวขอนแก่นเลือกทั้งนายเอกราชและนายนาวิน เป็น ส.ส. เข้าสภาฯ ให้ได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังสวมเสื้อพรรคภูมิใจไทย นายนาวินได้เดินทักทายพบปะกับกลุ่มคนเสื้อแดงที่เดินทางมาให้กำลังใจกว่า 300 คน พร้อมกล่าวว่า ขอบคุณพี่น้องประชาชนที่สนับสนุนตนมาโดยตลอด และยังอยู่ช่วยกัน ไม่ว่าตนจะอยู่พรรคไหน วันนี้ตนเปลี่ยนสีเสื้อมาอยู่ภูมิใจไทยแล้ว และเราจะสู้ไปด้วยกัน ตนจะพูดแล้วทำ และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง บุรีรัมย์เจริญเพราะมีเนวิน ขอนแก่นก็มีนาวินเช่นกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ก่อนที่นายศักดิ์สยามจะเดินทางกลับ ได้มีคนเสื้อแดงมาตั้งแถวส่ง พร้อมส่งเสียงเชียร์พรรคภูมิใจไทยเป็นระยะ

20 กุมภาพันธ์ ของทุกปี กำหนดเป็น ‘วันทนายความ’ หนึ่งในสถาบันด้านกระบวนการยุติธรรม

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ของทุกปี ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความทั่วประเทศถือเป็นวันทนายความ

วันนี้ในอดีต เมื่อปี 2500 เป็นวันที่ทนายความในขณะนั้นมีแนวความคิดริเริ่มที่ต้องการให้วิชาชีพทนายความ ควรจะมีสถาบันที่เป็นตัวแทนของวิชาชีพทนายความ และเป็นอิสระควบคุมดูแลกันเอง จึงได้ประชุมกันก่อตั้งสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยขึ้น โดยจดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2500

19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 ‘ไทย - ลาว’ หยุดยิงใน “สมรภูมิร่มเกล้า” ความขัดแย้งจากข้อพิพาทเส้นแบ่งดินแดน

วันนี้ เมื่อ 35 ปีก่อน ‘ไทย - ลาว’ ประกาศหยุดยิงใน “สมรภูมิร่มเกล้า” เหตุการณ์ความขัดแย้งที่ผ่านมาแล้วกว่าสามทศวรรษ!! 

ความขัดแย้งระหว่างไทยและลาวบริเวณชายแดน อันเนื่องมาจากข้อพิพาทในการกำหนดเส้นแบ่งดินแดนทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารพรานไทยและลาวหลายครั้งตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ปี 2530 เมื่อทหารลาวได้เข้าทำลายรถแทรกเตอร์ของเอกชนไทย ทำให้คนงานเสียชีวิตหนึ่งราย ในพื้นที่ซึ่งลาวอ้างว่าอยู่ในเขตตาแสงของแขวงไชยะบุรี พร้อมระบุว่าบ้านร่มเกล้าอยู่เข้าลึกไปในเขตลาว 2 กิโลเมตร

18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ‘ไคลด์ ทอมบอห์’ ค้นพบดาวพลูโต อดีตดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะ

วันค้นพบดาวพลูโต ตรงกับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ถือเป็นอดีตดาวเคราะห์อันดับที่ 9 ของระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งถูกค้นพบโดย ไคลด์ ทอมบอห์

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 เป็นวันค้นพบ ดาวพลูโต อดีตดาวเคราะห์อันดับที่ 9 ของระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งถูกค้นพบโดย ไคลด์ ทอมบอห์

ดาวพลูโต (Pluto) เป็นอดีตดาวเคราะห์อันดับที่ 9 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มีขนาดใหญ่และมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์

ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน ประกอบด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ ซึ่งวงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตรจากดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 32.6 หน่วยดาราศาสตร์

17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ประหารชีวิต ‘ชิต - บุศย์ - เฉลียว’ จำเลยคดีสวรรคต ในหลวง ร.8

วันนี้ เมื่อ 68 ปีที่แล้ว 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ศาลฎีกาได้พิพากษา ลงโทษประหารชีวิต เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนีย์ และบุศย์ ปัทมศริน จำเลยในคดีประทุษร้ายต่อสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ เรือนจำกลางบางขวาง

ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวาง เป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เชื้อ พัฒนเจริญ และนายหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวางเป็นกรรมการ

จากเหตุการณ์ที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตอย่างมีเงื่อนงำ ด้วยพระแสงปืน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9.20 น. บนชั้นสอง พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง

สภาพพระศพมีบาดแผลกลางพระนลาฎ (หน้าผาก) บริเวณระหว่างพระขนง (คิ้ว) ข้างพระศพมีปืนพกโคลต์ตกอยู่ชิดข้อศอก ด้ามปืนหันออกจากตัว ในช่วงแรกมีการรบกวนพระบรมศพทำให้การพิสูจน์เกิดปัญหา ความเห็นของแพทย์ผู้ชันสูตรเกือบสามในสี่ลงมติเป็นการลอบปลงพระชนม์

16 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ‘วันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช’ น้อมรำลึกถึงกษัตริย์ผู้รอบรู้และปราดเปรื่อง

วันนี้เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยถูกยกให้เป็น ‘วันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช’ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปี พ.ศ. 2175 ซึ่งตรงกับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2175 นั่นเอง

สมเด็จพระนารายณ์ หรืออีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์ในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา โดยทรงขึ้นครองราชย์เมื่อแรม 2 ค่ำ เดือน 12 พ.ศ. 2199 ในขณะที่มีพระชนมายุ 25 พรรษา

ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงมีพระราชกรณียกิจที่ส่งเสริมให้กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรือง ทั้งด้านเศรษฐกิจ การต่างประเทศ การศึกษา และศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านการค้าขาย ทรงติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยพระองค์ทรงปรับปรุงพระคลังสินค้า โปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือกำปั่นหลวง เพื่อทำการค้ากับต่างประเทศ นอกจากนี้ยังทรงจัดคณะทูตเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีถึงประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย

ประกาศปิดอ่าวไทย ปี 66 คุ้มครองแม่พันธุ์ปลาทู-สัตว์น้ำมีไข่ หวังเพิ่มผลผลิต-ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน

วันที่ 15 ก.พ. 66 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่ากระทรวงเกษตรฯ ประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย ประจำปี 2566 เพื่อคุ้มครองพ่อแม่พันธุ์ปลาทูและสัตว์น้ำมีไข่ให้แพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำได้อย่างยั่งยืน

มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำดังกล่าว ครอบคลุมพื้นที่บริเวณอ่าวไทยทั้งหมด แบ่งเป็น บริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนกลาง 2 ช่วงระยะเวลา ได้แก่ ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 พฤษภาคม 2566 ตั้งแต่ปลายแหลมเขาม่องไล่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี และระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม – 14 มิถุนายน 2566 ในบริเวณอาณาเขตตามแผนที่แนบท้ายของประกาศปิดอ่าวไทยตอนกลาง และเขตต่อเนื่องตั้งแต่ปลายแหลมเขาม่องไล่ ถึงอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

สำหรับบริเวณพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก 2 ช่วงระยะเวลา ได้แก่ ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน – 15 สิงหาคม 2566 ในพื้นที่อ่าวไทยตอนในฝั่งตะวันตกของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร และระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 30 กันยายน ในพื้นที่อ่าวไทยตอนในด้านเหนือของจังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. South Time Thailand
Take Me Top