Thursday, 18 April 2024
ECONBIZ

ก้าวต่อไม่หยุดยั้ง NRPT เดินหน้าสร้างโรงงานผลิต Plant based กำลังผลิต 3,000 ตันต่อปี ใหญ่สุดในเอเชียแปซิฟิก

NRPT เดินหน้าสร้างโรงงานผลิตอาหารโปรตีนจากพืชครบวงจร Plant & Bean (Thailand) ใหญ่สุดในเอเชียแปซิฟิก

Nuovo Plus - Gotion ร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตชุดแบตเตอรี่ ดันไทยสู่ผู้นำด้านแบตเตอรี่ของอาเซียน

เมื่อวานนี้ (15 ธันวาคม 2565) บริษัท นูออโว พลัส จำกัด (Nuovo Plus) บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท อรุณ พลัส จำกัด (Arun Plus) และบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) บรรลุข้อตกลงร่วมกับ Gotion Singapore Pte. Ltd. (Gotion) บริษัทในกลุ่มของ Gotion High-tech Co., Ltd. จัดตั้งบริษัทร่วมทุนภายใต้ชื่อบริษัท เอ็นวี โกชั่น จำกัด (NV Gotion) ด้วยทุนจดทะเบียนไม่เกิน 600 ล้านบาท ในสัดส่วนการลงทุน 51% และ 49% ตามลำดับ เพื่อดำเนินธุรกิจนำเข้า ประกอบ และจัดจำหน่ายโมดูลแบตเตอรี่และชุดแบตเตอรี่สำหรับระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) และยานยนต์ไฟฟ้า (EV) พร้อมส่งมอบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคุณภาพสูงสู่ตลาดภายในปี 2566 ด้วยกำลังการผลิตเริ่มต้น 1 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี และขยายกำลังการผลิตเป็น 2 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ภายในปี 2568

ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท นูออโว พลัส จำกัด เปิดเผยว่า การผลิตแบตเตอรี่เพื่อระบบกักเก็บพลังงานและยานยนต์ไฟฟ้าถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและยานยนต์ไฟฟ้า การร่วมทุนจัดตั้ง NV Gotion ครั้งนี้ เป็นไปตามทิศทางกลยุทธ์การลงทุนธุรกิจพลังงานแห่งอนาคตของกลุ่ม ปตท. เพื่อเร่งสร้าง Energy Storage and EV Value Chain ให้ครอบคลุมในทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ การผสานความเชี่ยวชาญจาก Nuovo Plus และ Gotion ทั้งในด้านของการวิจัยพัฒนา ศักยภาพการผลิตแบบแข่งขันได้ การบริการด้านเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยีโดยตรง และการให้บริการแบบครบวงจรในประเทศไทย จะทำให้สามารถส่งมอบประสบการณ์การใช้งานแบตเตอรี่ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลสู่ลูกค้าอุตสาหกรรมในไทยและอาเซียน โดย NV Gotion จะเริ่มก่อสร้างโรงงานประกอบชุดแบตเตอรี่ขนาด 2 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) คาดว่าจะสามารถผลิตและส่งมอบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคุณภาพสูงแก่ตลาดได้ภายในไตรมาส 4 ของปี 2566 นับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี และผลักดันเป้าหมาย Net Zero ของประเทศจากทุกภาคส่วนร่วมกัน

ยกระดับ ‘โรบัสต้า’ กาแฟถิ่นรสเยี่ยม เสน่ห์แห่งปลายด้ามขวาน จากฝีมือโรงคั่วฟาฏอนี

วันนี้ (13 ธ.ค. 65) เพจเฟซบุ๊ก ‘SEED Thailand’ ได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ หรือ ‘กาแฟท้องถิ่น Robusta ปลายด้ามขวาน’ ที่คนรุ่นใหม่ให้การตอบรับดี โดยมีเนื้อหาดังนี้

เวลาพูดถึง ‘กาแฟ’ หลายคนอาจจะมองว่าผลผลิตที่ดีต้องมาจากภาคเหนือเท่านั้น และหลายคนก็อาจจะยังไม่ทราบว่าพื้นที่ ‘3 จังหวัดชายแดนภาคใต้’ สามารถปลูกกาแฟได้และมีการปลูกไปแล้วในหลายพื้นที่และแต่ละพื้นที่ก็จะมีรสชาติสัมผัส ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละพื้นที่

กาแฟ Robusta ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้เริ่มปลูกกันมาสักระยะหนึ่งแล้วเพราะว่ากาแฟเป็นพืชทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมในการเพาะปลูกในพื้นที่ โดยเฉพาะสายพันธุ์ Robusta ซึ่งได้มีการสนับสนุนการเพาะปลูกแล้วในหลายพื้นที่ และปัจจุบันเกษตกรก็ได้ผลผลิตกันแล้ว

โดยกาแฟท้องถิ่น Robusta ปลายด้านขวาน เป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากหลากหลายพื้นที่ในจังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ อ.เบตง จ.ยะลา, อ.ธารโต จ.ยะลา, ต.บันนังสาเรง อ.เมือง จ.ยะลา, อ.ยะหา จ.ยะลา, อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส, อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

'รมว.เฮ้ง' ห่วงผู้ประกอบการภูเก็ต สั่งกรมการจัดหางาน เร่งช่วยเหลือ

กระทรวงแรงงานให้ความมั่นใจ เตรียมการ 3 ด้าน สนับสนุนการทำงานแบบพาร์ทไทม์ในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา จัดนัดพบแรงงานในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และประสานการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเป็นระบบ ย้ำเดินตามนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล คาดการณ์แล้วปลายปีท่องเที่ยวบูมแน่

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากกรณีที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวภูเก็ตขาดแคลนแรงงานหนักหลังธุรกิจท่องเที่ยวกลับมาเติบโตแบบก้าวกระโดดว่า เรื่องนี้เป็นผลพวงจากการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังโควิด 19 คลี่คลายลง ซึ่งล่าสุดประสบความสำเร็จอย่างมาก และได้มีการเฉลิมฉลองที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยครบ 10 ล้านคน ตามเป้าหมายส่งเสริมตลาดต่างประเทศของปี 2565 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมา

ซึ่งการที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยในช่วงเดือนธันวาคม 2565 และช่วงปีใหม่เป็นจำนวนมากนั้นเป็นเรื่องที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม การขาดแคลนแรงงานในจังหวัดภูเก็ตกว่า 17,000 อัตรานั้น กรมการจัดหางานได้สำรวจความต้องการจากหอการค้าจังหวัดภูเก็ต สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต สภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับข้อมูลจากสำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ต พบว่ามีความต้องการแรงงานในสถานประกอบการธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต จำนวน 405 แห่ง และมีตำแหน่งงานว่าง (กิจการโรงแรมและการท่องเที่ยว) ทั้งสิ้น 8,772 อัตรา ซึ่งที่ผ่านมากรมการจัดหางาน ได้เตรียมการรับมือสถานการณ์ขาดแคลนแรงงานแล้ว

ปตท. แข็งแกร่งระดับสากล ติดอันดับดัชนีความยั่งยืน DJSI 11 ปีต่อเนื่อง พร้อมเดินหน้าธุรกิจสู่พลังแห่งอนาคต

ปตท. ติดอันดับดัชนีความยั่งยืน DJSI ถึง 11 ปีอย่างต่อเนื่อง พร้อมเดินหน้าดำเนินงานตามแผนธุรกิจมุ่งสู่พลังแห่งอนาคต

วันนี้ (12 ธันวาคม 2565) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิก DJSI กลุ่มดัชนีโลก (World Index) รวมถึงดัชนีตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market Index) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 และยังเป็นองค์กรชั้นนำของอุตสาหกรรมในกลุ่ม Oil & Gas Upstream & Integrated (OGX) อีกด้วย สะท้อนถึงการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ ปตท. ผ่านการกำหนดทิศทางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับบริบทของโลกที่แปรเปลี่ยนไป โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพและนิเวศบริการในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการเติบโตในกลุ่มธุรกิจพลังงานสะอาด และธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน ควบคู่กับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นพันธกิจหลักของ ปตท. 

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างหนักของ COVID-19 ที่ผ่านมา กลุ่ม ปตท. ได้จัดตั้ง “โครงการลมหายใจเดียวกัน” เพื่อดูแลผู้ป่วยอย่างครบวงจร ในขณะเดียวกัน ปตท. ยังคงยึดมั่นการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมีธรรมาภิบาล รวมทั้งคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียม เพื่อให้สังคมไทยเดินหน้าสู่ความยั่งยืนในระดับสากล ภายใต้วิสัยทัศน์ “Powering Life with Future Energy and Beyond”

ปตท. - Envision ร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มจัดการพลังงานอัจฉริยะ ผลักดันสังคมไทยปลอดก๊าซเรือนกระจก

กลุ่ม ปตท. ร่วมกับ Envision พัฒนาแพลตฟอร์มบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ มุ่งผลักดันเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

เมื่อวานนี้ (9 ธันวาคม 2565) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ ENVISION DIGITAL INTERNATIONAL PTE. LTD. บริษัทชั้นนำด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อลดคาร์บอน ภายใต้กลุ่มบริษัท Envision ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) Collaboration in Future Energy Transition by Decarbonization Platform ศึกษาและทดลองการใช้งานแพลตฟอร์มบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ ภายในพื้นที่ของกลุ่ม ปตท. เพื่อบริหารและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขับเคลื่อนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี2050 โดยมี ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน คุณเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ Mr. Ko Kheng Hwa ประธานกรรมการ Envision Digital ร่วมในพิธีลงนาม

ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะเพื่อตรวจสอบและควบคุมการใช้พลังงาน รวมถึงประเมินความสามารถในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ทดลองของโครงการ โดยได้ริเริ่มนำแพลตฟอร์ม EnOSTM ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ AloT ของ Envision Digital มาใช้ในการบริหารจัดการระบบพลังงานหมุนเวียนภายในอาคารต้นแบบ M4 ที่สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) จ.ระยอง ได้แก่ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ลอยน้ำ แผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา ระบบกักเก็บพลังงาน รวมถึงสถานีชาร์จไฟฟ้าภายในวิทยาเขตของสถาบันฯ โดยสามารถตรวจสอบและควบคุมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และนำมาปรับใช้งานทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิลได้อย่างเหมาะสม จึงทำให้อาคารดังกล่าวเป็นอาคาร Zero Import ทั้งหมด ซึ่งในอนาคต หากประสบความสำเร็จก็จะขยายผลไปยังพื้นที่อื่นต่อไป

พาณิชย์ กางแผนเจาะตลาดส่งออก 3 กลุ่ม ตั้งเป้า 2 ล้านล้าน!!

วันที่ 9 ธันวาคม 2565 เวลา 11.30 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) เพื่อหารือร่วมกันทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าพร้อมด้วยนายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) และผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพาณิชย์และผู้แทนภาคเอกชน ที่ห้องกิติยากรวรลักษณ์ ชั้น 4 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

นายจุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้เป็นการประชุม กรอ.พาณิชย์ มีภาคเอกชนเข้าร่วมประชุมประกอบด้วยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทยและสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เพื่อเตรียมการส่งออกปีหน้ารองรับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ที่มีแนวโน้มชะลอตัวและปัญหาอื่น ๆ เช่น ประเด็นที่หนึ่ง ปี 64 เศรษฐกิจ โลก +6% ในปีนี้ IMF คาดว่ามีแนวโน้ม +3.2% และปีหน้ามีแนวโน้ม +2.7% ซึ่งจะชะลอตัวในปีหน้าชัดเจน

ประเด็นที่สอง ความยืดเยื้อของสงครามรัสเซีย-ยูเครน มีผลกระทบต่อราคาพลังงานและความมั่นคงทางอาหารของโลก ประเด็นที่สาม นโยบายซีโร่โควิดของจีน ที่จีนเป็นคู่ค้าลำดับหนึ่งของไทย เป็นตลาดส่งออกลำดับใหญ่อันดับสองของไทย ประเด็นที่สี่ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท มีผลกระทบต่อต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบ เพื่อนำมาผลิตส่งออกต่อไป และประเด็นที่ห้าทั้งหมดนี้จะมีผลกระทบต่อการส่งของไทยในปีหน้า

เศรษฐกิจไทยดีขึ้นต่อเนื่องหลังคลายล็อกโควิด "หอการค้าไทย' คาด ปีใหม่เงินสะพัดแสนล้านบาท!!

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 พบว่า ดัชนีมีการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 มาอยู่ที่ระดับ 47.9 เป็นผลมาจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.5

ทั้งนี้ มีปัจจัยบวกมาจากการผ่อนคลายมาตรการในการควบคุมโควิด 19 รวมถึงนโยบายในการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีการผ่อนคลายมากขึ้น โดยมีการปรับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 โดยเศรษฐกิจที่ขยายตัวมาจากแนวโน้มการบริโภคของภาคเอกชนที่มากขึ้น การลงทุนของภาครัฐและเอกชน รวมถึงเม็ดเงินจากภาคการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น

คณะวิทย์ ม.อ. เปิดประชุมวิชาการนานาชาติ The 13th IMT-GT UNINET BIOSCIENCE 2022 สร้างความร่วมมือเครือข่าย IMT-GT แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด BCG

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้เครือข่าย IMT-GT UNINET (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle University Network) เปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ The 13th IMT-GT UNINET BIOSCIENCE 2022 ภายใต้แนวคิด “BCG Economy towards SDGs for the Benefit of Mankind” โดยมี ผศ. ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ เป็นประธาน รศ. ดร.อัญชนา ประเทพ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยผู้แทนกงสุลอินโดนีเซียและกงสุลใหญ่มาเลเซีย ผู้บริหารเครือข่าย IMT-GT UNINET และนักศึกษาจากประเทศเครือข่ายเข้าร่วมงาน ณ บีพี สมิหลา บีช โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดสงขลา ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-9 ธันวาคม 2565

ภายในงานมีการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "BCG for SDGs" โดยคุณสุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, การบรรยายพิเศษหัวข้อ "Ocean Thermal Energy-Driven Development in Fulfilling all the 17 SDGs" โดย Dato' Ir. Dr. A. Bakar Jaafar, PEng, FIEM, FASc รองอธิการบดี Academy of Science Malaysia, Malaysia และช่วง CEO Talk ในหัวข้อ "Business Transformation Towards BCG Economy" โดย คุณภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ นายน้อย ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์

ผศ. ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็น 1 ใน 10 มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของประเทศไทย ที่มุ่งเน้นในการสร้างนวัตกรรมและสังคม ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นทั้งระดับชาติและนานาชาติ การที่มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมนานาชาติ IMT-GT UniNet Bioscience ครั้งที่ 13 ประจำปี 2565 ในหัวข้อ “BCG Economy to SDGs for the Benefit of Mankind” ในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเครือข่าย IMT-GT ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด Bio-Circular-Green Economy ตลอดจนตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ

ปตท. คว้า 3 รางวัล ASEAN CG Scorecard ประจำปี 2564 สะท้อน!! ‘กิจการดี-มีธรรมาภิบาล-นักลงทุนปลื้ม’

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รับผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในอาเซียน (ASEAN CG Scorecard) ประจำปี 2564 โดยมีนายชฎิล ชวนะลิขิกร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารศักยภาพองค์กรและธรรมาภิบาล บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้ารับรางวัลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) เพื่อยกย่องและประกาศเกียรติคุณให้แก่บริษัทจดทะเบียนในอาเซียน ที่ดำเนินธุรกิจตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่ง ปตท. ได้รับจำนวน 3 รางวัล ประกอบด้วย…

- รางวัล ASEAN Asset Class PLCs สำหรับบริษัทจดทะเบียนที่ได้คะแนนการประเมินตั้งแต่ร้อยละ 75 หรือคิดเป็น 97.50 คะแนนขึ้นไป 
- รางวัล ASEAN Top 20 PLCs สำหรับบริษัทจดทะเบียนที่มีคะแนนสูงสุด 20 อันดับแรกในระดับภูมิภาคอาเซียน
- และรางวัล Country Top 3 PLCs สำหรับบริษัทจดทะเบียนที่มีคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรกของประเทศไทย 

Swap & Go - Stallions Group ผนึกกำลังส่งเสริมประเทศใช้งานจักรยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมขยายพิกัดสับเปลี่ยนแบตฯ ดันสังคมไทยไร้มลพิษ

Swap & Go จับมือ Stallions Group เดินหน้าส่งเสริมการใช้งานรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมขยายเครือข่าย Battery Swapping ทางเลือกใหม่เพื่อสังคมไร้มลพิษ

(8 ธ.ค. 65) นางสาวอาวีมาศ สิริแสงทักษิณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สวอพ แอนด์ โก จำกัด (Swap & Go) และนายธีรเจต ลาภจตุรพิธ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สตาเลียน มอเตอร์ไซค์เคิล จำกัด (Stallions) เปิดตัวโครงการความร่วมมือส่งเสริมการใช้งานรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมขยายเครือข่าย Battery Swapping หรือสลับเปลี่ยนแบตเตอรี่ สร้างทางเลือกในการใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย ถือเป็นกลไกสำคัญที่สอดรับกับแผนพัฒนาประเทศ และเป็นการขยายผลจากต้นแบบการดำเนินธุรกิจในลักษณะแพลตฟอร์มและโครงสร้างพื้นฐานการสลับเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้กับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าโดยไม่ต้องรอชาร์จของ Swap & Go ที่ได้พัฒนาแบตเตอรี่รุ่นใหม่ที่มีพลังงานสูงขึ้น รองรับการขยายตัวของผู้ใช้งานรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

สุพัฒนพงษ์ แจง ครม.คืบ ผลถก รมต.พลังงานอาเซียน ซื้อขายไฟฟ้า เชื่อมโยงท่อก๊าซข้ามพรมแดน

เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 65 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.รับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 13-16 กันยายน 2565 ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุม โดยสรุปสาระสำคัญที่ประชุม รัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ได้รับรองถ้อยแถลงร่วมของการประชุมฯ ได้แก่

1.ด้านไฟฟ้า มีการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (รวม 16 โครงการ ณ เดือนกันยายน 2564) โดยมีกำลังไฟฟ้าที่ถ่ายเทระหว่างประเทศสมาชิกรวม 26,644-30,114 เมกะวัตต์ และดำเนินโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่างลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ได้สำเร็จ โดยกำหนดปริมาณการซื้อ-ขายไฟฟ้าสูงสุดที่ 100 เมกะวัตต์ชั่วโมง ระหว่างปี 2565-2566

2.ด้านก๊าซธรรมชาติ มีการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซอาเซียน มุ่งเน้นการพัฒนาตลาดก๊าซร่วมสำหรับภูมิภาค การขยายการเชื่อมโยงและการเข้าถึงก๊าซธรรมชาติ และการติดตามความคืบหน้าในการพัฒนาท่อส่งก๊าซข้ามพรมแดน

3.ด้านถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด มีจัดการประชุมของผู้แทนระดับสูงอาเซียน เมื่อวันที่  10 สิงหาคม 2565 เพื่อรวบรวมแนวทางและนโยบายเกี่ยวกับเทคโนโลยี ลำดับ ชื่อเรื่อง สาระสำคัญ ข้อเสนอแนะ ถ่านหินสะอาด และเทคโนโลยีการดักจับ การกักเก็บ และการใช้ประโยชน์คาร์บอน เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินการด้านถ่านหินของอาเซียนให้เป็นทิศทางเดียวกัน

4. ด้านพลังงานหมุนเวียน สถานะของการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนของอาเซียน ในปี 2563 สัดส่วนพลังงานทดแทนเมื่อเทียบกับปริมาณพลังงานทั้งหมดที่ผลิตได้ของอาเซียนอยู่ที่ร้อยละ 14.2 ซึ่งอาเซียนตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 23 ในปี 2568

ปตท. มอบรางวัล การประกวดการพัฒนา - รณรงค์ใช้ ‘หญ้าแฝก’ เพื่อเป็นแบบอย่างการอนุรักษ์ดิน-น้ำอย่างยั่งยืน

ปตท. จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2563 - 2565

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 12 (ประจำปี 2563 - 2565) ภายใต้แนวคิด ‘รักษ์น้ำ ป่า ดิน ด้วยแฝกองค์ภูมินทร์ ฟื้นถิ่น ยั่งยืน’ ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรร่วมจัด ได้แก่ มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) กรมพัฒนาที่ดิน และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อส่งเสริมการขยายผลการปลูกหญ้าแฝกให้เป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างยั่งยืน

การจัดการประกวดครั้งนี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานโล่รางวัลแก่ผู้ชนะเลิศการประกวด ส่วนผู้ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศและรางวัลชมเชยได้รับโล่พร้อมรับเกียรติบัตรจากองค์กรร่วมจัด โดยมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 58 ผลงาน ซึ่งแบ่งการประกวดออกเป็น 2 ประเภทผลงาน คือ

ปตท. จัดงาน ‘Gas Grows Zerotopia 2022’ ส่งเสริมอุตฯ ไทย ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

เมื่อวันที่ 25 - 26 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นเจ้าภาพจัดงานเสวนาวิชาการและนิทรรศการ Gas Grows Zerotopia 2022 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค โดยมี ม.ล. ปีกทอง ทองใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ นางสุณี อารีกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ระบบท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมงาน เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ พร้อมให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการจัดการพลังงาน รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้เครื่องจักรให้กับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการลดภาระต้นทุนในช่วงสถานการณ์ราคาพลังงานที่ผันผวน โดย ม.ล. ปีกทอง ได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ ‘สถานการณ์พลังงานและแนวทางการนำไปสู่เป้าหมาย Net Zero’ 

ทั้งนี้ ปตท. ในฐานะประธานเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network: TCNN) มุ่งหวังสร้างความร่วมมือกับภาคีต่าง ๆ ในการตระหนักและผลักดันทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจก พร้อมทั้งส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

ราคายางยังคงผันผวน! พิษจากโควิด/สงครามรัสเซีย-ยูเครน

“อลงกรณ์” ชี้แม้ไทยส่งออกยางธรรมชาติทะลุ 2 แสนล้านเพิ่มขึ้นกว่า 20% แต่ราคายังผันผวนจากผลกระทบของโควิดและสงครามรัสเซีย-ยูเครน มอบ ”กยท.”เร่งเดินหน้าขยายมาตรการชะลอขายยางเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางและรักษาเสถียรภาพราคายาง เปิดเผยวันนี้ (1 ธ.ค.65) ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 5/2565ว่าที่ประชุมได้รับทราบรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจตลาดยางพาราในประเทศคู่ค้าที่สำคัญจากทูตเกษตร ประจำสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศในแต่ละภูมิภาคทั่วโลก โดยทูตเกษตรจากสหภาพยุโรป (สำนักงานบรัสเซลส์) อิตาลี (สำนักงานกรุงโรม) สหรัฐอเมริกาและอเมริกาใต้ (สำนักงานกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.และลอสแองเจลิส) ออสเตรเลีย รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น อาเซียน (สำนักงานกรุงจาการ์ต้า) ซึ่งจากรายงานสถานการณ์การผลิต การค้า และการแข่งขันของตลาดยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางทั่วโลก ทั้งจากรายงานสถานการณ์ปัญหาสงครามรัสเซียยูเครน ยังคงส่งผลกระทบต่อการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางไทย

 

โดยสถานการณ์การส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางไทยไปยังรัสเซียยังคงหดตัว อีกทั้งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหนักอยู่ในระยะ wait and see mode และสต๊อคยางในรัสเซียยังล้นตลาดถึง 43 % ในสหรัฐอเมริกา เกิดภาวะเงินเฟ้อสูง และสถานการณ์โควิดในประเทศจีนรุนแรง หลายพื้นที่ล็อคดาวน์ยังพบผู้ติดเชื้อสูงโดยในเดือนพฤศจิกายน จีนพบผู้ติดเชื้อกว่า 49,479 ราย ไม่แสดงอาการ 448,350 ราย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการค้าในจีน ซึ่งจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้ส่งผลกระทบต่อราคาและการส่งออกยางพาราของไทย

ที่ประชุมยังรับทราบรายงานสถานการณ์ยางพารา เดือนพฤศจิกายน 2565 และคาดการณ์เดือนธันวาคม 2565 โดยฝ่ายเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย ได้รายงานคาดการณ์ปริมาณผลผลิตยางพารา ปี 2565 มีปริมาณ 4.754 ล้านตัน ในช่วงไตรมาส 4/65 มีปริมาณผลผลิตยางพาราสูงกว่าทุกไตรมาส มีปริมาณ 1.432 ล้านตัน การส่งออกในไตรมาสที่ 3/65 ไทยส่งออกรวม 1.150 ล้านตัน ยังอยู่ในระดับเดียวกับปีก่อน สำหรับช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค.2565 คาดการณ์ว่าปริมาณการส่งออกอาจจะชะลอตัวเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่ปริมาณสูงกว่าช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา โดยมูลค่าการส่งออกยางธรรมชาติของไทย ปี 2565 (ม.ค.-ก.ย. 2565) มีมูลค่า 216,528 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.99 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งออกไปยังประเทศจีน มากที่สุด มีมูลค่า 107,352 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ มาเลเชีย มูลค่า 19,153 ล้านบาท สหรัฐอเมริกามูลค่า 15,414 ล้านบาท ญี่ปุ่น มูลค่า 11,905 ล้านบาท เกาหลีใต้ มูลค่า 9,891 ล้านบาท และประเทศอื่น ๆ มูลค่า 52,813 ล้านบาท


© Copyright 2022, All rights reserved. South Time Thailand
Take Me Top